ชุดบาตร

   บาตร คือภาชนะชนิดหนึ่งที่ภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต เป็นบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งใน ๘ อย่าง และเป็นบริขารที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกับไตรจีวร
   บาตรที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้ได้มี ๒ ชนิดคือ บาตรดินเผา กับ บาตรเหล็ก
   บาตรที่พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้ใช้ คือ บาตรทอง บาตรเงิน บาตรแก้วมณี บาตรแก้วไพฑูรย์ บาตรแก้วผลึก บาตรกระจก บาตรทองแดง บาตรทองเหลือง บาตรดีบุก บาตรตะกั่ว บาตรสังกะสี บาตรไม้ และทรงห้ามมิให้ใช้ของอื่นอีกเช่น กระทะดิน กะโหลกน้ำเต้า กะโหลกผี แทนบาตร
   นอกจากกำหนดชนิดแล้วยังกำหนดขนาดไว้ด้วย คือ
-บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกกินได้ ๒ คนอิ่ม
-บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกกินได้ ๕ คนอิ่ม
-บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกกินได้ ๑๐ คนอิ่ม 

อ้างอิง:
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๔๘

     ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่อนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแล(โดยมีขนาดตั้งแต่ ๗-๑๑ นิ้ว) ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้ ก็เปลี่ยนมาใช้เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒ เรื่องบาตร                                                                                                                                                             [๓๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรต่างๆ คือ บาตรทำด้วยทองคำบาตรทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรทองคำไม่พึงใช้บาตรเงิน ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี ไม่พึงใช้บาตรแก้วไพฑูรย์ ไม่พึงใช้บาตรแก้วผลึก ไม่พึงใช้บาตรทองสัมฤทธิ์ ไม่พึงใช้บาตรกระจก ไม่พึงใช้บาตรดีบุก ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว ไม่พึงใช้บาตรทองแดง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตร ดิน ๑ ฯ  (ดูเพิ่มเติม)

 

Visitors: 228,188