องค์ประกอบของจีวร

   จีวรผืนหนึ่งมีขัณฑ์ไม่น้อยกว่า๕ขัณฑ์ เกินกว่านั้นใช้ได้แต่ต้องเป็น"ขัณฑ์ขอน(คี่)"ตามพระวินัย จีวรจะเป็นขัณฑ์ขอน อาทิเช่น ๕,๗,๙ ส่วนใหญ่จะนิยม ๙ ขัณฑ์ ในกรณีที่ผ้าหน้าแคบอาจจะทำขัณฑ์ให้เล็กลงเพื่อประหยัดผ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
   ในการตัดเย็บจีวรนี้เราจะใช้เฉพาะ มณฑลและอัฑฒมณฑลเท่านั้น ส่วนชื่อจำเพาะอื่นๆจะข้ามไปเพราะจะมีขนาดเหมือนกันแต่ต่างตรงตำแหน่งที่อยู่ของมณฑลต่างๆเหล่านั้นเท่านั้น 

   โดยมีผ้าที่เป็นส่วนชื่อเรียกดังนี้(ดูส่วนและเส้นต่างๆของจีวร)

๑. อัฑฒมณฑล คีเวยยะ(พันรอบคอ)
๒. มณฑล วิวัฏฏะ
๓. อัฑฒมณฑล วิวัฏฏะ
๔. อัฑฒมณฑล อนุวิวัฏฏะ
๕. มณฑล อนุวิวัฏฏะ
๖. มณฑล ชังเฆยยะ
๗. อัฑฒมณฑล ชังเฆยยะ(ปกแข้ง)
๘. อัฑฒมณฑล พาหันตะ(ส่วนที่พันแขน)
๙. กุสิ
๑๐. อัฑฒกุสิ
๑๑. อนุวาต
๑๒. รังดุม,ลูกดุม (ดูเพิ่มเติม)
   

        จีวรนั้นโปรดให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ คือเป็นกระทงมีเส้นคั่น 

-กระทงใหญ่ เรียกว่า" มณฑล "

-กระทงเล็ก เรียกว่า" อัฑฒมณฑล "

-เส้นคั่นในระหว่างมณฑลกับอัฑฒมณฑล ดุจคันนาขวาง เรียกว่า" อัฑฒกุสิ "

-รวมมณฑล อัฑฒมณฑล อัฑฒกุสิ เรียกว่า" ขัณฑ์ " ดูความหมายของคำว่า"ขัณฑ์"

-ในระหว่างขัณฑ์ มีเส้นคั่นดุจคันนายาว เรียกว่า" กุสิ "

 

ตรัสสรรเสริญท่านพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อชังเฆยยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัด ผ้าอันตรวาสกตัด.
ที่มา:เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๓๘๙๙ - ๔๐๐๔. หน้าที่ ๑๕๙ - ๑๖๔.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=3899&Z=4004&pagebreak=0

 

Visitors: 227,918